บริหารค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินอย่างไร... ให้เกษียณสุข
ลองเริ่มที่
“2 เคล็ดลับบริหารค่าใช่จ่ายและหนี้สินให้อยู่หมัด”
แล้วชีวิตน่าจะสบายขึ้น
1จดบันทึกรายได้ค่าใช้จ่าย
ในแต่ละเดือนต้องวางแผนการใช้จ่ายให้ชัดเจนว่า จะมีค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าไร และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องควบคุมให้เป็นตามแผนที่วางไว้ด้วย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ การจดบันทึกรายได้ค่าใช้จ่าย เพราะนอกจากจะรู้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่ออก จากกระเป๋าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ป้องกันเงิน รั่วไหลหรือไม่เป็นไปตามแผนแล้ว ยังช่วยป้องกัน โรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย
2ลดภาระหนี้สิน
ถ้าจะให้ดี ก่อนเกษียณสัก 4-5 ปี ควรจะเริ่ม สำรวจหนี้สินว่า ยังมีหนี้อะไร อยู่ตรงไหนบ้าง จำนวนเงินต้นมากน้อยแค่ไหน และดอกเบี้ยเท่าไร จากนั้นให้เพิ่มจำนวนเงินที่จะจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนให้มากขึ้น โดยอาจจะนำไปปลดหนี้ที่...
ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน
เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเหมาะกับ “หนี้ที่คิด อัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นทบดอก” เพราะยิ่งผ่อนให้เงินต้นลดลงเร็ว ก็จะยิ่งเสีย ดอกเบี้ยน้อย หรือ
มูลหนี้คงเหลือน้อยที่สุดก่อน
เพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ และให้มีเงินเหลือ ไปจ่ายหนี้รายอื่นได้มากขึ้น ซึ่งเหมาะกับ “หนี้ที่คิดดอกเบี้ยคงที่” เพราะไม่ว่าจะ ผ่อนให้หมดเร็วหรือช้า เจ้าหนี้ก็คิด ดอกเบี้ยรวมในเงินผ่อนแต่ละเดือนอยู่แล้ว
เพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ และให้มีเงินเหลือ ไปจ่ายหนี้รายอื่นได้มากขึ้น ซึ่งเหมาะกับ “หนี้ที่คิดดอกเบี้ยคงที่” เพราะไม่ว่าจะ ผ่อนให้หมดเร็วหรือช้า เจ้าหนี้ก็คิด ดอกเบี้ยรวมในเงินผ่อนแต่ละเดือนอยู่แล้ว
ตัวอย่าง คุณอัมพร กำลังจะเกษียณในอีก 5 ปี มีภาระหนี้สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตอยู่กับสถาบันการเงิน 3 แห่ง โดยมียอดที่ต้องผ่อนขั้นต่ำต่อเดือน
7,000 บาท ดังนั้น เพื่อเร่งปลดหนี้ให้เร็วขึ้น
จึงเพิ่มจำนวนเงินผ่อนมาเป็น 10,000 บาท
7,000 บาท ดังนั้น เพื่อเร่งปลดหนี้ให้เร็วขึ้น
จึงเพิ่มจำนวนเงินผ่อนมาเป็น 10,000 บาท
สถาบันการเงิน | หนี้คงเหลือ | อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) | ผ่อนขั้นต่ำต่อเดือน |
---|---|---|---|
ก | 40,000 | 28% | 4,000 |
ข | 20,000 | 20% | 2,000 |
ค | 10,000 | 15% | 1,000 |
หากคุณอัมพรเลือกปลดหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อนในแต่ละเดือนจะผ่อนให้สถาบันการเงิน ข. และ ค. ตาม ยอดขั้นต่ำ คือ 2,000 + 1,000 = 3,000 บาท ส่วนที่ เหลืออีก 7,000 บาท จ่ายให้สถาบันการเงิน ก. จนหมด ซึ่งช่วยให้ประหยัด ดอกเบี้ยจ่ายไปได้หลายพันบาท อีกทางเลือกคือ ปลดหนี้ที่มีมูลหนี้น้อยที่สุดก่อนก็จะผ่อนให้สถาบันการเงิน ก. และ ข. ตามยอดขั้นต่ำ คือ 4,000 + 2,000 = 6,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 4,000 บาท นำไปจ่ายให้สถาบันการเงิน ค. และเมื่อหมด ภาระหนี้ของสถาบันการเงิน ค. จึงเพิ่มจำนวนเงินผ่อน สถาบันการเงิน ข. เป็นเดือนละ 6,000 บาท
นอกจากนี้ อาจทำเรื่องรีไฟแนนซ์ โดยรวมหนี้จากหลายๆ
ที่ให้มาเป็นก้อนเดียว เพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนให้อยู่ในภาระ
ที่พอรับได้ หรือ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆ
และคำนวณดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมก่อนว่า คุ้มหรือไม่
เพราะระยะเวลาการผ่อนชำระอาจจะนานขึ้น
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดก็อาจจะมากขึ้นด้วย
ไม่ใช่แค่ภาระหนี้เท่านั้นที่ต้องปลดให้หมดก่อนวัยเกษียณ
แต่ยังรวมถึงภาระค้ำประกันต่างๆ
ทั้งการค้ำประกันเงินกู้ และการค้ำประกันคนเข้าทำงาน
ต้องไปปลดภาระออกให้หมด
เพราะมันอาจจะทำให้เรากลายเป็นหนี้ในวัยเกษียณแบบไม่รู้ตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น